ทีมนักวิจัยที่ขุดค้นสถานฝังศพในอังกฤษ ได้ตรวจพบดีเอ็นเอ (DNA) ของแบคทีเรีย “เยอร์ซีเนีย เพสติส” (Yersinia pestis) ในซากโครงกระดูกของมนุษย์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิด “กาฬโรค” (Plague) เมื่อ 4,000 ปีก่อน นับเป็นเชื้อก่อโรคที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยพบในเกาะบริเตนใหญ่
กาฬโรคโรคระบาดรุนแรงที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส ซึ่งมักพบใน หมัดหนู (Rodent Flea) และเมื่อคนถูกหมัดหนูที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้กัด ก็จะป่วยเป็นกาฬโรคได้
พูจา สวาลี นักศึกษาระดับปริญญาเอกจากห้องปฏิบัติการสก็อกลุนด์ของสถาบันฟรานซิสคริกในลอนดอน ผู้ค้นพบดีเอ็นเอแบคทีเรียโบราณดังกล่าว บอกว่า ก่อนหน้านี้ ดีเอ็นเอของแบคทีเรีย เยอร์ซีเนีย เพสติส ที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยพบมาจากเมื่อ 1,500 ปีก่อน ทำให้นี่เป็นดีเอ็นเอที่เก่าแก่กว่านั้นมาก
สำหรับตัวอย่างของแบคทีเรีย เยอร์ซีเนีย เพสติส ที่ก่อให้เกิดกาฬโรคนั้น ถูกพบที่สถานฝังศพที่แตกต่างกัน 2 แห่ง แห่งหนึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษในเขตซัมเมอร์เซต และอีกแห่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเขคคัมเบรีย ใกล้ชายแดนอังกฤษและสกอตแลนด์
“เจมส์ เว็บบ์” บันทึกปรากฏการณ์ “ไอน้ำพวยพุ่ง” จากดวงจันทร์ของดาวเสาร์ คำพูดจาก เว็บสล็อต มาแรงอันดับ 1
พบสิ่งมีชีวิตใหม่กว่า 5,000 สายพันธุ์ใต้มหาสมุทรแปซิฟิก
พบหลักฐาน มนุษย์รู้จัก “การจูบ” ตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมีย 4,500 ปีก่อน
สวาลีกล่าวว่า ระยะห่างระหว่างสถานฝังศพทั้งสองบ่งชี้ว่า โรคที่เกิดจาก เยอร์ซีเนีย เพสติส นี้แพร่หลายในช่วงปลายยุคหินใหม่และยุคสำริด
หากถามว่า นักวิจัยค้นหาแบคทีเรียอายุ 4,000 ปีเจอได้อย่างไร รายงานการวิจัยระบุว่า ทีมวิจัยได้เก็บตัวอย่างจากซากโครงกระดูกของบุคคล 34 คนจากสถานฝังศพทั้งสองแห่ง จากนั้นนักวิจัยจึงเจาะเข้าไปในฟันของซากกระดูกโบราณเหล่านี้และดึงเอา “เนื้อเยื่อฟัน” ออกมา ซึ่งสามารถดักจับเศษดีเอ็นเอของโรคติดเชื้อได้
“ความสามารถในการตรวจหาเชื้อโรคโบราณจากตัวอย่างเมื่อหลายพันปีก่อนเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อ จีโนมเหล่านี้สามารถบอกให้เราทราบเกี่ยวกับการแพร่กระจายและการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการของเชื้อโรคในอดีต และหวังว่าจะช่วยให้เราเข้าใจว่ายีนใดที่อาจมีความสำคัญในการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ” สวาลีกล่าว
เมื่อใช้การวิเคราะห์ทางพันธุกรรม นักวิจัยระบุว่า มีช่วงเวลาที่แตกต่างกัน 2 ช่วงที่กาฬโรคปรากฏขึ้นในอังกฤษ คือช่วงแรกเกิดขึ้นก่อนหรือประมาณ 4,000 ปีที่แล้ว และอีกครั้งเมื่อประมาณ 1,500 ปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม สวาลีบอกว่า ตัวอย่างของเยอร์ซีเนีย เพสติส ที่พบในสถานฝังศพทั้งสองแห่งนั้นไม่มียีนที่ทำให้มันแพร่เชื้อผ่านตัวหมัดได้ ซึ่งการแพร่เชื้อผ่านหมัดหนูเป็นลักษณะเฉพาะของเชื้อที่ก่อให้เกิดกาฬโรคช่วงยุคกลาง
จึงเป็นไปได้ว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส โบราณที่พบนี้ อาจเป็นคนละตัวกับที่ก่อกาฬโรคที่ทำลายล้างยุโรปในช่วงยุคกลาง และวิทยาศาสตร์อาจไม่มีทางรู้อย่างแท้จริงถึงความรุนแรงของกาฬโรคเมื่อ 4,000 ปีที่แล้วว่าแตกต่างจากกาฬโรคช่วงยุคกลางอย่างไร
สวาลีบอกว่า ในขณะที่บันทึกทางประวัติศาสตร์สามารถอธิบายเกี่ยวกับการระบาดของกาฬโรคได้ในระดับหนึ่ง การศึกษาดีเอ็นเอของแบคทีเรียโบราณอาจทำให้เรามองย้อนกลับไปได้ไกลกว่านั้น
“จะมีการวิจัยในอนาคตมากขึ้นเพื่อทำความเข้าใจว่า จีโนมของเราตอบสนองต่อโรคดังกล่าวในอดีตอย่างไร รวมถึงเข้าใจการแข่งขันทางวิวัฒนาการกับเชื้อโรค ซึ่งสามารถช่วยให้เราเข้าใจผลกระทบของโรคในปัจจุบันหรืออนาคตได้” เธอกล่าว
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก Getty Image