นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ ฝ่ายข้าราชการประจำ กล่าวถึง ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 8 – 14 กันยายน 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 1,271,154 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 225 ข้อความทั้งนี้ ช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ
10 จุดสังเกตง่าย ๆ รู้ทันข่าวไหนข่าวปลอม ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
ดีอีเอส เปิด 10 อันดับข่าวปลอมประชาชนแห่เชื่อ ด้านนโยบายรัฐมาแรงสุด
ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 211 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 14 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 152 เรื่อง โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 : นโยบายรัฐบาล จำนวน 62 เรื่อง กลุ่มที่ 2 : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ จำนวน 59 เรื่อง กลุ่มที่ 3 : ภัยพิบัติ จำนวน 9 เรื่อง และกลุ่มที่ 4 : เศรษฐกิจ จำนวน 22 เรื่อง โดยเป็นเรื่องการหลอกลวงธุรกรรมทางการเงิน จำนวน 18 เรื่อง
โดยข่าวปลอมและข่าวบิดเบือนที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
อันดับที่ 1 : ธ. ออมสินปล่อยสินเชื่อ อนุมัติไวไม่ต้องมีคนค้ำ ผ่านเพจออมสิน จำกัดมหาชน อันดับที่ 2 : ลมขึ้นเบื้องสูงนานส่งผลให้เส้นเลือดฝอยในสมองฝ่อ ทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ อันดับที่ 3 : วิธีตรวจระดับความเสื่อมของสมอง อันดับที่ 4 : นำนิ้วโป้ง นิ้วกลาง และนิ้วนางมาชนกัน จะช่วยป้องกันโรคตับ อันดับที่ 5 : ผู้ที่เป็นโรคไมเกรน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกมากกว่าคนปกติถึง 46% อันดับที่ 6 : คณบดีศิริราชและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก ขายผลิตภัณฑ์ Oclarizin เพื่อแก้ปัญหาสายตา อันดับที่ 7 : ตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้รายย่อยร่วมเป็นเจ้าของปั๊มน้ำมัน ปตทคำพูดจาก สล็อตวอเลท. เริ่มซื้อ 112 หน่วย 3,920 บาท อันดับที่ 8 : ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดซื้อ-ขายกองทุนระยะยาว เริ่มต้น 10,000-5,000,000 บาท อันดับที่ 9 : วัยหนุ่มสาวที่สุขภาพดีความดันอยู่ที่ 120/80 ผู้สูงวัยที่แข็งแรงความดันอยู่ที่ 140/90 อันดับที่ 10 : วิธีถูมือช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดีและนอนหลับง่าย
นายเวทางค์ กล่าวว่า ขอความร่วมมือประชาชน เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลผ่านโซเชียล ควรตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ เพื่อความปลอดภัยและรู้เท่าทัน โดยทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ติดตามความเคลื่อนไหวข้อความที่ผิดปกติในทุกช่องทางและได้มีการติดตามการกระทำผิดอย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้องประชาชนจากมิจฉาชีพในทุกรูปแบบ หากท่านได้รับการแจ้งข้อมูลที่ผิดปกติ ผ่านเอสเอ็มเอส หรือทางโทรศัพท์ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น สามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม